วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

 ครบเครื่องเรื่องลูกซอง +++++


ห้องนี้ สำหรับเพื่อน ๆ สมาชิก ผู้มีใจรัก ลูกซอง สามารถเข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้

ซองเดี่ยว แฝด 5 นัด 8 นัด สไลด์ เซมิออโต ลูกซอง ใหม่ เก่า คลาสสิค มาคุยกันโชว์กันครับ
 


 ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า

  

ประวัติปืนลูกซอง

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปืนลูกซองขนาด 12 เกจปืนลูกซอง หรือ ช็อตกัน (จากภาษาอังกฤษ Shotgun) คือปืนลำกล้องเรียบ ที่ใช้ยิงกระสุนลูกปราย ปืนลูกซองมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยใช้ยิงด้วยการจุดชนวน เป็นการนำเอาเม็ดกระสุนตะกั่วจำนวนมากกว่า 1 นัด ใส่ในปืนเพื่อให้มีโอกาสยิงถูกเป้าหมายได้ง่ายขึ้น มักจะใช้ในการยิงเป้าเคลื่อนที่เป็นหลัก เช่น การยิงนกที่บินในอากาศ การวัดขนาดลำกล้องใช้การนำเอาตะกั่วน้ำหนัก 1 ปอนด์ มาแบ่งเป็นส่วน ๆ เท่ากัน แล้วปั้นเป็นลูกกลม และลูกกลมขนาดนั้นจะลอดผ่านลำกล้องได้พอดี ยกตัวอย่าง ถ้าแบ่งเป็น 12 ส่วน เอา 1 ส่วนมาปั้นเป็นลูกกลมแล้วผ่านลำกล้องได้ เราเรียกว่า ลูกซองขนาด 12 หรือ 12 เกจ ขนาดเม็ดลูกปรายที่บรรจุไว้ในกระสุนลูกซอง จะมีต่าง ๆ กันไปตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยมีมาตรฐานอยู่หลายแบบ แต่ที่เป็นแบบใหญ่ ๆ ได้แก่ มาตรฐานอเมริกา มาตรฐานอังกฤษ และมาตรฐานยุโรป

ขนาดของปืนลูกซองขนาดต่าง ๆ

ปืน เบอร์๔ (๔ เกจ )
 เป็นปืนลำกล้องขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติของปืนลูกซอง ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๐๕๒ นิ้ว หรือ ๒๖.๗๐ มิลลิเมตร ปัจจุบันได้หายไปจากตลาดแล้ว

ปืนเบอร์๘ (๘ เกจ ) ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๘๓๕ นิ้ว หรือ ๒๑.๒๐ มิลลิเมตร ปัจจุบันได้หายไปจากตลาดแล้ว

ปืน เบอร์๑๐ (๑๐ เกจ ) ปืนเบอร์นี้ยังพอมีอยู่บ้าง เป็นแบบลูกซองแฝดขนานหายากมาก ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๗๗๕ นิ้ว หรือ ๒๙.๖๘ มิลลิเมตร

ปืนเบอร์๑๒ (๑๒ เกจ ) เป็นปืนที่มีขนาดกำลังพอเหมาะพอดี มีคนนิยมใช้กันมาก บริษัทต่างๆ ผลิตปืนนี้ออกจำหน่ายเป็นส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับใช้ในการกีฬายิงเป้า ป้องกันตัว ป้องกันทรัพย์สิน ใช้ล่าสัตว์      ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๗๒๙ นิ้ว หรือ ๑๘.๕๑ มิลลิเมตร

ปืนเบอร์๑๔ (๑๔ เกจ ) ปืนลูกซองขนาดนี้ไม่มีขายในท้องตลาดแล้ว

ปืน เบอร์ ๑๖ (๑๖ เกจ ) ปืนขนาดนี้หายากไม่ใคร่นิยมกัน โดยมากมักใช้ปืนเบอร์ ๒๐ แทนหรือใช้เบอร์ ๒๐ ที่ใช้ลูกกระสุนมีดินขับแรงสูง เพราะลำกล้องใกล้เคียงกัน ปืนเบอร์๑๖ ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๖๗๐ นิ้ว หรือ ๑๗.๐๑ มิลลิเมตร

ปืนเบอร์ ๒๐ (๒๐ เกจ ) ปืนขนาดลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๖๑๕ นิ้ว หรือ ๑๕.๖๒ มิลลิเมตร คนนิยมใช้มากพอสมควรเหมาะสำหรับผู้ฝึกหัดยิงปืนลูกซองใหม่ๆ เพราะมีแรงถีบน้อง ใช้ล่าสัตว์หรือป้องกันทรัพย์สินได้ดี

ปืนเบอร์ ๒๔ (๒๔ เกจ ) มีตำนานเล่าขานเอาไว้ในเรื่องของปืนลูกซอง แต่ไม่มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพราะคนไม่นิยมใช้

ปืน เบอร์ ๒๘ (๒๘ เกจ ) ปืนแบบนี้เคยมีขายแต่หายาก ปัจจุบันนี้อาจจะมีอยู่บ้างในตู้ปืนสะสมของนักนิยมปืน ใช้ยิงสัตว์ขนาดเล็ก ลำกล้องกว้าง .๕๕๐ นิ้ว หรือ ๑๓.๙๗ มิลลิเมตร
ปืนเบอร์ ๔๑๐  เป็นปืนลูกซองที่เล็กที่สุด ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๔๑๐ นิ้ว หรือ ๑๐.๔๑ มิลลิเมตร เท่านั้น

กระสุนปืนลูกซอง ๑๒ เกจ

แบ่ง ตามการเรียกชื่อโดยทั่วไปออกเป็น ดังนี้ ถ้าเป็นกระสุนลูกปราย เรียกว่า ลูกบั๊ค (Buckshot) ถ้าเป็นลูกเบอร์หรือลูกยิงนก เรียกว่า (Birdshot) ส่วนคำว่า เอสจี (SG) เป็นชื่อเรียกของทางยุโรป.. ส่วน OO BUCK เป็นชื่อเรียกของทางอเมริกา ซึ่งเหมือนกันคือมีกระสุน ๙ เม็ดเท่ากัน  สังเกตจากกระสุนยี่ห้อ ELAY ดูตรงฝาปิดจะเห็น SG ถ้ายี่ห้อ Remington ข้างปลอกจะเขียน OO BUCK นอกจากลูก Buckshot และลูก Birdshot ที่เป็นลูกปรายแล้ว ยังมี ลูกโดด หรือ Slugshot ที่มีเม็ดเดียวใหญ่เต็มปลอกเลย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๗๒๓ นิ้ว (ขนาด ๑๒ เกจ) ใกล้เคียงกับเส้นผ่าศูนย์กลางของลำกล้องขนาด ๑๒ เกจ  (๐.๗๒๙ นิ้ว ) เล

  

ลูกบั๊ก (Buckshot) 
เป็นกระสุนลูกปรายเม็ดใหญ่แบบอเมริกันเรียกว่า ลูกบั๊ค ลูกชนิดนี้นิยมใช้กันมีอยู่ ๗ ขนาด ดังนี้

๑ ขนาด OOO Buck (ทริปเปิ้ลโอ) ขนาดความยาวของกระสุน ๒  ๓/๔ นิ้ว แบบธรรมดา (ไม่ใช่แบบแม็กนั่ม) ภายในปลอกกระสุนจะมีลูกตะกั่วกลม ๆ บรรจุอยู่ ๘ เม็ด แต่ละเม็ดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ ๐.๓๕ นิ้ว

๒ ขนาด OO Buck (โอโอ บั๊ค หรือ ดับเบิลโอ) เป็นขนาดยอดนิยมในไทย และเนื่องจาก มี ๙ เม็ด คนไทยจึงนิยมเรียกว่า ลูกเก้า (เรียกจำนวนเม็ดไม่ได้เรียกจากเบอร์กระสุน) โซนยุโรป เรียกลูกแบบเดียวกันนี้ว่า SG มี ๙ เม็ดเหมือนกัน ถ้าเป็นกระสุนแม็กนั่มจะมี ๑๒ เม็ด แต่ละเม็ดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ ๐.๓๓ นิ้ว หรือ ๘.๓๘ มม.  กระสุนเบอร์นี้อันตรายมาก สามารถยิงกวาง หมี หมูป่า หรือสุนัขป่า ได้ เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป

๓  ขนาด O Buck (โอ บั๊ค ) มีลูกปรายบรรจุอยู่ ๑๒ เม็ด  เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละเม็ด เท่ากับ ๐.๓๒ นิ้ว  

๔  ขนาด 1  Buck (๑ บั๊ค) มีลูกปรายบรรจุอยู่ ๑๖ เม็ด  เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละเม็ด เท่ากับ ๐.๓๐ นิ้ว หรือ ๗.๖ มิลลิเมตร นับว่าเป็นลูกปืนที่หวังผลได้มากในระยะของปืนลูกซอง

๕ ขนาด 2  Buck (๒ บั๊ค) มีลูกปรายบรรจุอยู่ ๒๐ เม็ด  เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละเม็ด เท่ากับ ๐.๒๗ นิ้ว

๖  ขนาด 3  Buck (๓ บั๊ค) มีลูกปรายบรรจุอยู่ ๒๔ เม็ด  เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละเม็ด เท่ากับ ๐.๒๕ นิ้ว

๗  ขนาด 4  Buck (๔ บั๊ค) มีลูกปรายบรรจุอยู่ ๒๗ เม็ด  เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละเม็ด เท่ากับ ๐.๒๔ นิ้ว ลูกขนาดนี้โตกว่าลูกกรดเล็กน้อย ใช้ยิงสัตว์ขนาดกลางๆ เช่น แพะได้   

  
ลูกโดด (Slugshot)


 

แบ่งออกได้อีก ๓ แบบ ตามลักษณะของหัวกระสุน

๑.แบบ Brenneke เป็นลูกโดดที่มีลักษณะผิวเรียบ ทรงกระบอก หัวมน มีหมอนรองกันแก๊สรั่วติดส่วนท้ายหัวกระสุน

๒.แบบ Foster  ตัวลูกโดดจะมีลักษณะทรงกระบอกหัวมน แต่ที่ผิวจะมีครีบเฉียงหรือ Helical Ribbing ไปตามความยาวกระสุน และร่องรอบๆตัว เพื่อให้กระสุนเกิดการหมุนตัวเพื่อรักษาสมดุล เช่น Remington Slugger  ยิงกับปืนลูกซองลำกล้องเรียบ (Smooth Bore) ใช้โช้คแบบ Improved Cylinder หรือ Cylinder

๓.แบบ Sabboted Slugs:  ภาษาฝรั่งเศสแปลว่ารองเท้าไม้หรือรองเท้า ( ตัวลูกโดดจะเรียบและมีเปลือกพลาสติก Polyethylene หุ้มซึ่งจะหลุดออกเมื่อกระสุนพ้นปลายลำกล้อง เช่น Remmington Premier Copper Solid ) ซึ่งผู้ผลิตแนะนำอย่างยิ่งให้ยิงกับปืนลูกซองลำกล้องมีเกลียว ( Fully Rifled Barrel )จึงจะแม้นยำและได้ผลโดยระยะ 100 หลา มีการทดสอบสามารถทำกลุ่มกระสุนได้ 2   ½ นิ้ว – 5 นิ้ว 


ข้อดีของปืนลูกซอง


        วันนี้เอาเรื่องราวเกี่ยวกับ ข้อดีของปืนลูกซอง มาฝาก พี่น้องผองเพื่อนคอปืนยาวกันครับ
ข้อดีอย่างหนึ่งของปืนลูกซองก็คือ ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ตั้งแต่ใช้เพื่อการล่าสัตว์ การกีฬา การสงคราม และเพื่อต่อสู้ป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน คุณสมบัติที่หลากหลายเหล่านี้มาจากคุณลักษณะพิเศษของปืนลูกซองและกระสุนที่ใช้ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายแบบ โดยเฉพาะปืนลูกซองซึ่งใช้เพื่อป้องกันตัวในภาคประชาชนมีการพัฒนาไปมาก



         กระสุนที่ใช้ได้กับปืนลูกซองสำหรับประชาชนนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ กระสุนลูกปราย (Buckshot) และ กระสุนลูกโดด (Slug) โดยกระสุนลูกปรายซึ่งบรรจุลูกตะกั่วขนาดเล็กจำนวนมากหลายร้อยเม็ด เรียกว่า Birdshot มักใช้ในกีฬายิงนกหรือกีฬายิงเป้าบิน



        เป็นที่ยอมรับกันว่าปืนลูกซองมีอำนาจหยุดยั้งดีกว่าปืนสั้นมาก กระสุน Buckshot ที่มีลูกปรายบรรจุอยู่ระหว่าง 8 ถึง 13 เม็ด ได้ชื่อว่าเป็น “One-Shot Stop” เพราะเมื่อยิงถูกเป้าหมายจะคล้ายกับว่าคนร้ายถูกยิงด้วยกระสุนขนาด .380 นิ้ว จำนวนมากในคราวเดียวกันจึงมีอำนาจหยุดยั้งภัยคุกคามได้เป็นอย่างดี



        ผู้เชี่ยวชาญบางท่านอาจแนะนำให้ใช้กระสุน Birdshot ในการป้องกันตัวเพราะกระสุนมีอำนาจทะลุทะลวงน้อยกว่า Buckshot เมื่อกระสุนพลาดไปกระทบผนังห้องจะมีโอกาสทะลุไปถูกผู้บริสุทธิ์ได้น้อยกว่า แต่ส่วนใหญ่กลับมีความเห็นว่าเมื่ออำนาจทะลุทะลวงน้อยก็เท่ากับว่าอำนาจหยุดยั้งน้อยลงไปด้วย



        FBI มีมาตรฐานในการทดสอบประสิทธิภาพของกระสุนปืน โดยกำหนดว่าเมื่อกระสุนปืนยิงทดสอบใส่แท่ง 10 % ballistic gelatin ควรเจาะเข้าไปได้ลึกระหว่าง 12 ถึง 18 นิ้ว จึงจะถือได้ว่าเหมาะสมแก่การใช้งานเพื่อหยุดยั้งภัยคุกคามที่เป็นมนุษย์ (มีอำนาจหยุดยั้งดีที่สุด)



        อำนาจหยุดยั้งขึ้นอยู่กับกระสุนนั้นสามารถส่งถ่ายพลังงานไปให้เป้าหมายได้มากน้อยเพียงไร เมื่อกระสุนยังคงอยู่ในเป้าหมายไม่ทะลุผ่านออกมาแสดงว่าสามารถส่งถ่ายพลังงานทั้งหมดให้เป้าหมายได้ หากตัวกระสุนเองมีพลังงานน้อยเกินไปถึงแม้จะถ่ายทอดไปให้เป้าหมายทั้งหมดก็ไม่อาจหยุดยั้งภัยคุกคามได้ เช่น กระสุนซึ่งเจาะแท่งเจลลาตินไปได้น้อยกว่า 12 นิ้ว หรือหากแม้มีพลังงานในตัวกระสุนมากแต่ไม่สามารถส่งถ่ายไปให้เป้าหมายได้มากพอก็ไม่อาจหยุดภัยคุกคามได้เช่นกัน อาทิเช่น กระสุนซึ่งทะลุผ่านเป้าหมายออกไปแสดงว่าไม่สามารถส่งถ่ายพลังงานไปให้เป้าหมายได้หมด อำนาจหยุดยั้งก็ขึ้นอยู่กับว่าพลังงานที่ส่งผ่านไปได้นั้นมากพอที่จะหยุดยั้งภัยคุกคามได้หรือไม่



        กระสุนลูกโดดส่วนใหญ่พบว่าเมื่อทดสอบยิงใส่แท่งเจลลาตินดังกล่าวจะอยู่ในความลึกที่เหมาะสม แต่กับกระสุน Double-ought buckshot กลับทะลุทะลวงไปไกลกว่าระยะดังกล่าว (ไกลกว่า 18 นิ้วเสียอีก) ดังนั้นจึงมีการผลิตกระสุน Reduced recoil หรือ Low recoil ซึ่งน่าจะทำให้มีปัญหานี้น้อยลง



        เป็นที่ยอมรับกันว่ากระสุนซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานเพื่อป้องกันตัว คือ Double-ought buckshot หรือ OO buckshot โดยมีกระสุนลูกปรายบรรจุอยู่ 9 เม็ด ไม่จำเป็นต้องเลือกกระสุนที่มีดินขับมากๆ



        สำหรับประชาชนแล้วปืนลูกซองถือเป็นอาวุธซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินในบ้าน ประสิทธิภาพของปืนลูกซองขึ้นกับการเลือกใช้กระสุนให้เหมาะสมกับภัยคุกคาม การเรียนรู้ข้อดีและข้อจำกัดของปืนลูกซองอีกทั้งการฝึกฝนการใช้งานให้เกิดความชำนาญจึงเป็นสิ่งสำคัญ



ชนิดของปืนลูกซอง

๑.บรรจุเดี่ยว (อีเดี่ยว,เดี่ยวหักลำ ฯลฯ) มีลำกล้องเดียวสามารถบรรจุกระสุนได้ครั้งละ 1 นัด เมื่อทำการยิงแล้วต้องหักลำกล้องเพื่อคัดปลอกกระสุนที่ยิงแล้ว และบรรจุกระสุนนัดใหม่


๒.ลูกซองแฝด มี 2 ประเภท 
       ๒.๑ side by side แฝดขนาน เป็นปืนลูกซองที่มีลำกล้อง 2 ลำกล้องในปืนกระบอกเดียว โดยลำกล้องจะอยู่ข้างกันในแนวนอน ส่วนมากใช้ในการล่าสัตว์


๒.๒ Over/Under แฝดซ้อน เป็นปืนลูกซองที่มีลำกล้อง 2 ลำกล้องในปืนกระบอกเดียว โดยลำกล้องจะอยู่ข้างกันในแนวตั้ง(บนล่าง) ส่วนมากใช้ในการแข่งขันกีฬา


๓.ปืนลูกซองแบบ โยนลำ (ปั้มแอ็คชั่น) เป็นปืนลูกซองที่มีลำกล้อง 1 ลำกล้องในปืนกระบอกเดียว แต่ที่บริเวณส่วนล่างของลำกล้องมีหลอดสำหรับบรรจุกระสุน และมีกระโจมมือที่สามารถสาวกลับมาข้างหลังเพื่อบริหารกลไกในการคัดปลอกกระสุนที่ยิงแล้ว และนำกระสุนนัดใหม่จากหลอดกระสุนใค้ลำกล้องป้อนเข้าสู่ลำเพลิง เหมาะสำหรับใช้งานในหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความยาวของลำกล้อง


๔.ปืนลูกซองแบบกึ่งอัตโนมัติ (เซมืออโตเมติก) มีลักษณะคล้ายกับปืนลูกซองแบบโยนลำแต่กระโจมมือไม่สามารถสาวกลับมาได้ การทำงานของปืนแบ่งย่อยออกเป็น 2 ระบบ คือ แก๊ส กับ รีคอย แต่หลักการทำงานโดยรวม คือ ใช้แรงรีคอย หรือ แก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินขับ มาผลักให้ลูกเลื่อนถอยหลังเพื่อคัดปลอกกระสุนที่ยิงแล้วออก และบรรจุกระสุนนัดใหม่จากหลอดกระสุนใต้ลำกล้องเข้าสู่ลำเพลิง


๕.ปืนลูกซองแบบลูกเลื่อน รูปแบบจะคล้ายกับปืนลูกเลื่อนทั่ว ๆ ไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า ระบบการทำงาน ส่วนใหญ่จะเป้อนกระสุนด้วยซองกระสุน ปัจจุบันอาจยังพอหาได้อยู่ครับ


๖.ปืนลูกซองแบบ คานเหวี่ยง พบได้ใน ภาพยนต์ เรื่อง คนเหล็ก 2 ที่ ท่านอาโนล ใช้ยิงหุ่นยนต์ที่เหมือนของเหลวครับ


๗.ปืนลูกซองแบบ ผสมกับขนาดอื่น ๆ เช่น .22  ส่วนมากใช้ในการล่าสัตว์


สำหรับการเลือกใช้ปืนลูกซองนั้น กำหนดได้จากวัตถุประสงค์การใช้งานดังนี้
    ๑.ป้องกันชีวิต(เฝ้าบ้านพื้นที่ไม่กว้างระยะยิงไม่เกิน 30 เมตร) ไม่ยิงเป้าที่ลอยในอากาศ หรือยิงบ้างแต่ไม่บ่อย ลำกล้องควรจะยาวระหว่าง 18 - 21 นิ้ว และเป็นระบบ โยนลำ หรือ กึ่งอัตโนมัติเพื่อความคล่องตัว และรวดเร็วในการยิงนัดที่ 2 ...
    ๒.ป้องกันชีวิต(เฝ้าบ้านพื้นที่ไม่กว้างระยะยิงเกิน 30 เมตร) ล่าสัตว์ กำจัดสัตว์รบกวนพืช และยิงเป้าที่ลอยในอากาศ ลำกล้องควรจะยาวเกิน 21 นิ้ว เพื่อความแม่นยำในระยะยิงที่ไกลมากขึ้น ระบบอาจเป็นบรรจุเดี่ยว แฝด โยนลำ กึ่งอัตโนมัติ ก็ได้

นอกจากเลือกปืนแล้ว กระสุนลูกซองก็เป็นสิ่งสำคัญครับ หากเลือกให้ตรงกับงานที่จะใช้จะทำให้ปืนลูกซองเป็นปืนอเนกประสงค์ครับ ในประเทศไทยมีชนิดของกระสุนลูกซองให้เลือกน้อยครับคือมี
    ลูก BB           ในกระสุน 1 นัด จะมีเม็ดลูกปรายขนาด 0.18 นิ้ว อยู่ประมาณ 80 เม็ด 
    ลูก OO Buck  ในกระสุน 1 นัด จะมีเม็ดลูกปรายขนาด 0.33 นิ้ว อยู่ 9 เม็ด
    ลูก #2           ในกระสุน 1 นัด จะมีเม็ดลูกปรายขนาด 0.15 นิ้ว ประมาณ 90 เม็ด
    ลูก 4 Buck     ในกระสุน 1 นัด จะมีเม็ดลูกปรายขนาด 0.24 นิ้ว ประมาณ 27 - 41 เม็ด
    ลูกโดด           ในกระสุน 1 นัด จะมีหัวกระสุน 1 หัว 

ใช้ในการยิงสัตว์ปีก ใช้ลูก BB หรือ #2  
ถ้าเป็นสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ไม่มีเท้า ขนาด "กลาง"  ใช้ลูก OO Buck หรือ 4 Buck 
และสัตว์ใหญ่ ใช้ ลูกโดด (ไม่แนะนำให้ใช้ยิงสัตว์ประเภทนี้ครับ)

ปล. ชนิดของปืนลูกซองแฝดนี้มีกลไกแยกย่อยไปอีกครับ คือ ไก กับ นก โดยบางรุ่นมี 1 ไก ยิงได้ 2 ลำกล้อง และบางรุ่นมี 2 ไก ส่วนนกจะมี นกใน กับ นกนอก ครับ